ปัญหาผมร่วงที่ซ่อนอยู่ในโรคเซ็บเดิร์ม
สารบัญบทความ
โรคเซ็บเดิร์ม ส่วนใหญ่แล้วพบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิง ซึ่งมีโอกาสเกิดได้กับทารกแรกเกิดและในผู้ใหญ่วัย 30 – 60 ปี ลักษณะอาการ และสาเหตุของโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับโรคเซ็บเดิร์มกันค่ะ
เซ็บเดิร์ม คืออะไร ?
เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เป็น โรคทางผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันในชั้นผิวหนัง มักจะเกิดเฉพาะบริเวณผิวที่มีน้ำมันเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะพบในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง แต่ก็มีโอกาศเกิดในเพศหญิงได้เช่นเดัยวกัน ซึ่งอาการของโรคเซ็บเดิร์มที่พบก็มีลักณธเดียวกับในเพศชายเลย ส่วนใหญ่มักจะเป็นบริเวณใบหน้า บริเวณ T – Zone หลังใบหู ร่องจมูก อก ข้อพับแขน ขา และบริเวณหนังศีรษะ
ลักษณะอาการของโรคเซ็บเดิร์ม คือ จะเป็นผื่นแดง มีอาการคัน และผิวแห้งลอกเป็นขุย ส่วนบริเวณหนังศีรษะ จะเป็นสะเก็ดรังแคหนา หรือเป็นแผ่นรังแคสีขาวหรือสีออกเหลือง สังเกตได้ที่บริเวณไรผมค่ะ
ส่วนใหญ่คนที่เป็นเซ็บเดิร์ม มักจะเป็นแบบเรื้อรัง พอรักษาหายแล้ว หากมีสิ่งมากระตุ้น หรือดูแลตัวเองไม่ดีพอ ก็จะกลับมาเป็นใหม่อีกครั้ง ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาแบบหายขาด ต้องคอยรักษาตามอาการและป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ
บางคนมักเกิดความสับสนระหว่าง เซ็บเดิร์มกับสะเก็ดเงิน ทริคง่าย ๆ ในการจำคือ – เซ็บเดิร์ม เกิดจาก -ผิวมัน ผิวตกสะเก็ด ลอกเป็นขุยสีขาวหรือสีเหลือง มักพบที่บริเวณไรผม ไม่ลุกลาม ไปมากกว่านั้น -สะเก็ดเงิน สะเก็ดที่ลอกจะหนากว่าและมีสีเงิน ๆ สามารถลุกลามไปหนังศีรษะบริเวณอื่นได้
เซ็บเดิร์มเกิดจากอะไร
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคเซ็บเดิร์มเกิดจากอะไร แต่สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน ได้แก่ กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน ความเครียด การใช้ยาบางชนิด การดื้อแชมพูที่ใช้อยู่เป็นประจำ และเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง อย่าง เชื้อรา Malassezia เป็นต้น
เซ็บเดิร์ม สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในหน้าร้อนและหน้าหนาว เพราะทั้ง 2 ฤดูนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นเซ็บเดิร์มได้ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าที่จะเป็นได้ง่ายกว่าส่วนอื่น ๆ
แม้เซ็บเดิร์มจะมีลักษณะอาการที่ดูน่ากลัว แต่ก็ไม่ใช่โรคที่สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัส และปกติแล้วการเป็นเซ็บเดิร์มจะไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนใด ๆ แต่หากเป็นที่บริเวณหนังศีรษะก็มีส่วนที่จะทำให้เกิดภาวะผมร่วงได้
เซ็บเดิร์มไม่เหมือนรังแค และชันนะตุ
เซ็บเดิร์ม รังแค และชันนะตุ บางครั้งก็มีความคล้ายกันจนแยกไม่ออก แต่ถ้าหากพิจารณาดูดี ๆ จะรู้ได้ว่าทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะอาการและสาเหตุการเกิดโรคที่ต่างกัน
เซ็บเดิร์ม เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักเกิดบริเวณผิวที่มีความมัน เพราะต่อมไขมันใต้ผิวหนังมีความผิดปกติ จนเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดผื่น อาการคัน มีสะเก็ดลอกเป็นขุย ๆ หรือลอกเป็นแผ่นที่มีสีขาวหรือสีเหลือง ระบุสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร ถือเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง เมื่อผู้ป่วยรักษาหายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากดูแลตัวเองไม่ดีพอ
รังแค เกิดจากการที่หนังศีรษะมีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนหลุดลอกออกมาเป็นแผ่น ซึ่งสาเหตุของการแบ่งตัวเร็วก็มาจากการสระผมบ่อย ใช้แชมพูที่ไม่เหมาะกับศีรษะและเส้นผม หนังศีรษะอับชื้น และยังเกิดจากกรรมพันธุ์ ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนได้ด้วย ลักษณะเป็นสะเก็ดสีขาวหรือเหลือง เป็นแผ่นแบนและบางมันวาว บางครั้งก็หลุดเป็นขุย
ชันนะตุ เป็นโรคติดเชื้อบนหนังศีรษะเกิดจากติดเชื้อรา เดอมาโทไฟต์ (Dermatophytes) มักมีอาการคัน คันมาจนเกิดเป็นแผล หนังศีรษะตกสะเก็ดเป็นจุดกลม ๆ และบางครั้งก็มีผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จนนำไปสู่การผมร่วงถาวรได้
ถึงแม้ว่าทั้ง 3 อาการนี้จะเป็นที่บริเวณหนังศีรษะ และทำให้ผมร่วงได้เช่นเดียวกัน แต่ว่าลักษณะอาการและสาเหตุของการเกิดโรคนั้นแตกต่างกัน ควรแยกให้ออกเพื่อที่จะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี หากแยกเองไม่ออกสามารถไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อเข้ารับการรักษาหรือขอคำแนะนำได้ค่ะ
เซ็บเดิร์มทำให้ผู้หญิงหมดความมั่นใจ
นอกจากความทรมานจากอาการคัน และผิวหนังที่แห้ง ลอกแล้ว การเป็นเซ็บเดิร์มบริเวณใบหน้า ยังทำให้ผู้หญิงต้องดูแลผิวหน้าเป็นพิเศษมากขึ้น งดแต่งหน้า งดใช้สกินแคร์ เพื่อไม่ให้อาการลุกลามกว่าเดิม และยังต้องคอยใส่แมสก์ปกปิดเวลาที่ต้องออกนอกบ้านด้วย
ยิ่งหากเป็นเซ็บเดิร์มที่ศีรษะด้วยยิ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ ทำงานที่ต้องอาศัยความเป็นมืออาชีพ อาศัยความดูดี ต้องมีการจัดแต่งทรงผม ย้อมสีผม พอมีแผลผื่นคันขึ้นที่ใบหน้าและศีรษะ ก็อาจจะต้องหยุดงานเพื่อรักษาก่อนจะเกิดปัญหาผมร่วงตามมา
ส้นผมและผิวพรรณ คือ ส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงมั่นใจขึ้น ซึ่งโรคเซ็บเดิร์มสามารถทำลายสิ่งความมั่นใจเหล่านี้ได้ ยิ่งปล่อยไว้นาน หรือมีการรักษาที่ยามนาน ก็มีโอกาสที่จะเกิดรอยแผลในบริเวณที่เป็นได้ด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุของสภาพจิตใจอ่อนแอ เกิดความเครียดสะสมจากปัญหาเซ็บเดิร์ม และความเครียดนั้นก็ยังส่งผลให้เกิดผมร่วง ผมบาง ตามมาอีกด้วย
วิธีแก้ไขเซ็บเดิร์มก่อนผมร่วง
การรักษาเซ็บเดิร์มสามารถทำได้หลายแบบตามระดับความรุนแรง และบริเวณที่เป็น โดยในบทความนี้เราจะแนะนำเกี่ยวกับการรักษาเซ็บเดิ์มบริเวณที่ใบหน้าและศีรษะให้ได้ทราบกันค่ะ
การรักษาเซ็บเดิร์มที่ใบหน้า หากเป็นเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน มั่นเติมความชุ่มชื้นให้ผิว ลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากมีอาการรุนแรงอาจจะต้องรักษาด้วยการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาต้านเชื้อราตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ
การรักษาเซ็บเดิร์มที่ศีรษะ สามารถทำได้โดยการใช้แชมพูรักษาเซ็บเดิร์มที่มีส่วนผสมของ ซิงค์ไพริธีโอน (zinc pyrithione), เซเลเนี่ยม ซัลไฟท์ (selenium sulfide), อิมิดาโซล (imidazoles) และแชมพูคีโตโคนาโซล (ketoconazole) และดูแลความสะอาดของหนังศีรษะอยู่เสมอ สลับกับการใช้แชมพูที่ปราศจากสารเคมี เพื่อไม่ให้อาการของโรคแย่ลงกว่าเดิม
และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เส้นผมอ่อนแอ จนเกิดการร่วงในระหว่างที่ทำการรักษาเซ็บเดิร์ม แนะนำให้หาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยหยุดผมร่วงจากภายในร่างกายมาทานร่วมกับการดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ ร่วมกันการใช้แชมพูยาที่มีส่วนผสมดังที่กล่าวไปข้างต้นด้วย
ควรเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อให้ดีต่อร่างกายในระยะยาว เพราะการรักษาเซ็บเดิร์มนั้น ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าใช้เวลานานเท่าไหร่ บางคนเป็นหนักอาจต้องรักษานานเป็นเดือน และอย่างที่รู้ว่าโรคเซ็บเดิร์มเป็นโรคเรื้อรังที่ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด หายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้
สรุป
เซ็บเดิร์ม ถึงแม้จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเราอ่อนแอ มีความเครียด หรือมีความผิดปกติที่ต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ก็อาจส่งผลให้เกิดเซ็บเดิร์มได้ และหากเป็นเซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะด้วยแล้วก็ย่อมส่งผลทำให้เกิดปัญหาผมร่วงตามมา ได้อีกด้วย ดังนั้น การดูแลสุขภาพเส้นผมให้แข็งแรง ดกหนา ขาดร่วงยาก อย่างสม่ำเสมอย่อมเป็นผลดี เมื่อพบปัญหาโรคเซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะจะได้ไม่เกิดปัญหาผมร่วงตามมา